....เมื่อสมัยครั้งพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี
มีอุบาสกคนหนึ่ง
เป็นผู้มีศรัทธาต่อพระรัตนตรัย ชื่อว่าติสสะ ได้พร้อมใจกับภรรยาของตนเย็บและย้อม ซึ่งจีวรสบง
สังฆาฏิ ได้ถวายเสร็จแล้วก็ทูลลากลับไปสู่เคหาของตน
เป็นผู้มีศรัทธาต่อพระรัตนตรัย ชื่อว่าติสสะ ได้พร้อมใจกับภรรยาของตนเย็บและย้อม ซึ่งจีวรสบง
สังฆาฏิ ได้ถวายเสร็จแล้วก็ทูลลากลับไปสู่เคหาของตน
...
ในกาลครั้งนั้นพระโมคคัลลานะ ผู้ประกอบ ด้วยฤทธานุภาพ สามารถนำข่าวสารสวรรค์มาบอกมนุษย์นำข่าวมนุษย์ไปบอกสวรรค์ และนรกเป็นต้น ครั้งแล้วพระโมคคัลลานะก็ขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ได้เห็นปราสาทมีความงามรุ่งเรืองกว่าปราสาทหลังอื่น ๆ และมีนางเทพกัญญา
พันหนึ่งแวดล้อมปราสาทนั้น แต่ไม่มีเทพบุตรอยู่ในปราสาทหลังนั้น
พระเถระเจ้าได้ไต่ถามกับนางเทพอัปสรนั้น ได้ทราบโดยตลอด
จึงลงจากเทวโลกเข้าไปสู่สำนักพระบรมศาสดากำลังมีพุทธบริษัททั้ง ๔ แวดล้อมอยู่
พระเถระเข้าไปถวายอภิวาท แล้วก็ทูลถามถึงอานิสงส์ถวายผ้าจำนำพรรษายังมีชีวิตอยู่ในเมืองมนุษย์
ว่าปราสาททิพย์ได้รอคอยอยู่ในเทวโลก เพราะเกิดจากผลทานของการถวายผ้าจำนำพรรษา
จะมีบ้างไหมพระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงตรัสว่า ดูกรโมคคัลลานะ
ผ้าจำนำพรรษาที่ติสสะอุบาสกได้กระทำไว้นั้น ก็ได้ปรากฏแก่เธอเองแล้วมิใช่หรือ พระโมคคัลลานะ ทูลตอบว่าจริงแล้วพระเจ้าข้าสมเด็จภวันต์ตรัสต่อไปว่า
โมคคัลลานะบุคคลผู้ใดมี ศรัทธา ได้ถวายผ้าจำนำพรรษาแก่ภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น บุคคลผู้นั้นเบื้องหน้าแต่แตกกายทำลายขันธ์
ไปย่อมมีสุคติเป็นที่ไป “ทานสคฺคโสปาณํ” ผลทานเป็นบันไดนำไปสู่สวรรค์ปิดกันเสีย ซึ่งอบายภูมิ
บุคคลผู้มีมืออันชุ่มไปด้วยการให้ทาน หมู่ทวยเทพทั้งหลายย่อมมีความยินดี
สรรเสริญรอคอยบุคคลผู้ให้ทานนั้นอยู่เสมอ ดุจนางอัปสรเทพกัญญารอคอยติสสะอุบาสกฉะนั้น เมื่อจบพระสัทธรรมเทศนาลง บริษัททั้ง ๔ มีความรื่นเริง ยินดีในพุทธพจน์นัก กลับเป็นผู้ตั้งอยู่ในกุศลสัมมาปฏิบัติเป็นจำนวนมาก ฝ่ายติสสะอุบาสกครั้นทำลายขันธ์ลงก็นำตนไปอุบัติขึ้นใน
สัตตรัตนปราสาท เสวยสมบัติอันเป็นทิพย์ มีนางอัปสรแวดล้อมเป็นยศบริวารความเป็นมาของงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในอดีตชาวเมืองอุบลไม่มีการหล่อเทียน แห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านมักจะฟั่นทำเทียนแบบโบราณ ความยาวรอบศีรษะแล้วน้ำไปถวายพระสงฆ์เพื่อจุดบูชาช่วงเวลาจำพรรษา บ้างก็หาน้ำมันไปถวายพระสงฆ์ และหาเครื่องไทยทาน ตลอดจนผ้าอาบน้ำฝนไปถวายพระสงฆ์ ครั้นในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่เมือง อุบล ชาวบ้านได้ร่วมใจกันนำเทียนมาบริจาคแล้วจึงได้นำเทียนเหล่านั้นมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้และตามรอยต่อก็นำกระดาษสีเงินและสีทองที่ตัดเป็นรอยฟันปลาติดปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปี๊บน้ำมันก๊าดเป็นฐาน เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด ซึ่งพาหนะที่ใช้ นิยมใช้เกวียนหรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง ถ้าเป็นวัวก็มักจะมีการตกแต่งรอบเขา คอ ข้อเท้า ด้วยกระดาษสี เกราะ หรือกระพรวน ส่วนการแห่แหนของชาวบ้าน ก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน ต่อๆ มาการทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้นถึงขั้นใช้การหล่อดอกจากผ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่ายๆ เช่น ประจำยาม กระจังตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู กรุยเชิง หน้าขบ ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและเห็นความสำคัญในการทำและแห่เทียนพรรษามากขึ้น เมื่อจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี ต่อมางานประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดจึงมีการจัดประกวดต้นเทียนเพิ่มเป็น ๓ ประเภท คือ
(๑) ประเภทติดพิมพ์
(๒) ประเภทแกะสลัก
(๓) ประเภทมัดรวมติดลาย
สรรเสริญรอคอยบุคคลผู้ให้ทานนั้นอยู่เสมอ ดุจนางอัปสรเทพกัญญารอคอยติสสะอุบาสกฉะนั้น เมื่อจบพระสัทธรรมเทศนาลง บริษัททั้ง ๔ มีความรื่นเริง ยินดีในพุทธพจน์นัก กลับเป็นผู้ตั้งอยู่ในกุศลสัมมาปฏิบัติเป็นจำนวนมาก ฝ่ายติสสะอุบาสกครั้นทำลายขันธ์ลงก็นำตนไปอุบัติขึ้นใน
สัตตรัตนปราสาท เสวยสมบัติอันเป็นทิพย์ มีนางอัปสรแวดล้อมเป็นยศบริวารความเป็นมาของงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในอดีตชาวเมืองอุบลไม่มีการหล่อเทียน แห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านมักจะฟั่นทำเทียนแบบโบราณ ความยาวรอบศีรษะแล้วน้ำไปถวายพระสงฆ์เพื่อจุดบูชาช่วงเวลาจำพรรษา บ้างก็หาน้ำมันไปถวายพระสงฆ์ และหาเครื่องไทยทาน ตลอดจนผ้าอาบน้ำฝนไปถวายพระสงฆ์ ครั้นในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่เมือง อุบล ชาวบ้านได้ร่วมใจกันนำเทียนมาบริจาคแล้วจึงได้นำเทียนเหล่านั้นมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้และตามรอยต่อก็นำกระดาษสีเงินและสีทองที่ตัดเป็นรอยฟันปลาติดปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปี๊บน้ำมันก๊าดเป็นฐาน เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด ซึ่งพาหนะที่ใช้ นิยมใช้เกวียนหรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง ถ้าเป็นวัวก็มักจะมีการตกแต่งรอบเขา คอ ข้อเท้า ด้วยกระดาษสี เกราะ หรือกระพรวน ส่วนการแห่แหนของชาวบ้าน ก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน ต่อๆ มาการทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้นถึงขั้นใช้การหล่อดอกจากผ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่ายๆ เช่น ประจำยาม กระจังตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู กรุยเชิง หน้าขบ ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและเห็นความสำคัญในการทำและแห่เทียนพรรษามากขึ้น เมื่อจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี ต่อมางานประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดจึงมีการจัดประกวดต้นเทียนเพิ่มเป็น ๓ ประเภท คือ
(๑) ประเภทติดพิมพ์
(๒) ประเภทแกะสลัก
(๓) ประเภทมัดรวมติดลาย
งาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา ได้รับการส่งเสริมจากทางจังหวัดมากขึ้นตามลำดับ
จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๐ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)
ได้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้เป็นงานประเพณีระดับชาติ
โดยประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาชมตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
ได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรจัดกิจกรรมพิเศษขึ้นเพิ่มเติมในช่วงงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี
เพื่อเป็นการขยายวันพักค้างคืนของนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นประเพณีที่สำคัญทางศาสนามีเอกลักษณ์และมีชื่อเสียงซึ่งเริ่มเป็นที่รู้จักกันเพิ่มมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ การแกะสลักเทียนยังเป็นงานศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งเยาวชน ประชาชนทั่วไป
หรือแม้แต่ชาวต่างประเทศสามารถมีส่วนร่วมกิจกรรมได้ ดังนั้น ททท. ได้กำหนดจัด
โครงการแสดงประติมากรรมเทียนนานาชาติ ขึ้น
ในช่วงงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดงานศิลปะแกะสลักเทียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
โดยกำหนดจัดงานขึ้นตลอดทั้งเดือนกรกฎาคมของทุกปี
เพื่อสร้างการรับรู้กระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวและสร้างแรงจูงใจสำหรับนักท่องเที่ยวในการเดินทางเที่ยวชมประเพณีดังกล่าว
ซึ่งถือเป็นการสร้างสรรค์กิจกรรมท่องเที่ยวในช่วงหน้าฝน
ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในระดับนานาชาติต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น