จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มเป้าหมายภายในจังหวัดอุบลราชธานีที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมในการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานีทั้งในอดีต
และปัจจุบัน และความแตกต่างของวัฒนธรรมดังกล่าวทั้งสองยุค เพื่อศึกษาหน่วยงานที่มีบทบาทในการนำเสนอ
และ กระบวนการนำเสนองานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานีทั้งในช่วงอดีต และปัจจุบัน
เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการสื่อสารที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของงานประเพณีแห่เทียนพรรษา
จังหวัดอุบลราชธานี ในปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี
ในยุคอดีต แบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงสมัยก่อนที่พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์จะเข้ามาปกครองเมืองอุบลราชธานี
ซึ่งวัฒนธรรมของงานประเพณีมีรูปแบบเป็นประเพณีดั้งเดิมชองชุมชนท้องถิ่นทุกๆด้าน วัตถุประสงค์ของการจัดงานเนื่องจากเป็นหลักปฏิบัติของ
ฮีต 12 คอง 14 และ เพื่อหวังผลที่ได้จากการถวายเทียนพรรษา
ผู้ที่มีบทบาท คือ ประชาชนท้องถิ่น และวัด ต่อมา ช่วงสมัยที่กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เข้ามาปกครองเมืองอุบลราชธานี
วัตถุประสงค์ของการจัดงานเป็นไปเพื่อใช้เป็นเครื่องมืออีกรูปแบบหนึ่งในการปกครองเมือง
ผู้ที่มีบทบาทในการจัดงานประเพณี ได้แก่ หน่วยงานปกครองท้องถิ่นในขณะนั้น ส่วนวัฒนธรรมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา
ในยุคปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทางด้านการท่องเที่ยว ผู้ที่เป็นแกนนำในการจัดงานยังคงเป็นหน่วยงานปกครองระดับจังหวัดที่อยู่ในรูปของคณะกรรมการจัดงานฝ่ายต่างๆและสรุปได้ว่า
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ได้เปลี่ยนจากงานระดับท้องถิ่น
จัดโดยชาวบ้านและวัด มาเป็นงานระดับจังหวัด และระดับชาติ
เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นเรื่องสำคัญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น